ดาวน์โหลดโปรแกรม RSS Reader ได้ที่นี่ ...

|
|
|
Visitors - Session views |       
7 ธันวาคม พ.ศ.2549 116 Users On-Line. |
|
Visitors - Page views |        1 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2551 |
|
|
|
 |
|
RFID และ การติดต่อฐานข้อมูล ด้วย VB6 ภาค 1 (ทฤษฎี และ รูปแบบข้อมูล) |
Category »
VB 6/VB.Net โดย : Webmaster เมื่อ 1/12/2552 เวลา: 14:43 | (อ่าน : 30500) | RFID หรือ Radio Frequency IDentication ... พี่น้องคงสามารถศึกษาข้อมูลได้อย่างมากมายอยู่แล้วแหละครับ ว่ามันคืออะไร หลายคนคงได้อ่าน หรือเห็นลักษณะการทำงานของ RFID ไปบ้างแล้ว เช่น มันต้องอาศัยการเหนี่ยวนำของสนามแม่เหล็กไฟฟ้า มีการผสมสัญญาณ (Modulation) แบบต่างๆ ใช้คลื่นความถี่ ย่านนั้นย่านนี้ (ก็ว่าไป) เป็นพาหะ (Carrier) ในการนำพาข้อมูลไปยังปลายทาง มี Tag ID มีตัวอ่านหรือเขียน (Reader/Writer) มีมาตรฐานต่างๆมากมายก่ายกอง ... เอาแค่นี้เอง หากคนไม่ได้จบมาทางด้าน Telecommunication เป็นอันว่าต้องส่ายหน้าหนีไปให้พ้นๆเลย 55555+ ... โอ้ย แบบนี้มันออกจะ ... "เล่นของสูง" เกินตัวไปแล้ว ... เดี๋ยวผมจะร่ายมนต์ดำ ทำให้นางงามจักรวาล กลายมาเป็นนางงามประจำหมู่บ้านซ่ะเลย ก้ากๆๆๆๆ ... ผมรับรองได้ว่า มันไม่ได้เป็นสิ่งที่ไกล จนเอื้อมไม่ถึงขนาดนั้นหรอกครับ เพราะบทความนี้ไม่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์เสริม ก็สามารถเข้าถึงได้แล้ว เอิ๊กๆๆๆๆ ... ทำไมมุมมองของผม จึงมองเข้ามาได้ในหลายมิติล่ะ ก็เพราะผมมีพื้นฐาน ทั้งทฤษฎี หลักการ และ สิ่งที่สำคัญมาก คือ การได้ ประสบการณ์ ในงานทางด้าน Telecom + Data Com + DataBase ... จึงทำให้มองภาพรวมทั้งหมดออกอย่างไม่ยากเย็นนัก ... ดังนั้นก่อนที่จะเขียนบทความเรื่องนี้ออกมา ผมก็ดูแล้วว่าทั้งเว็บไทย หรือ ต่างประเทศ จะไม่กล่าวถึงการประยุกต์เข้าสู่งานระบบฐานข้อมูลเลยครับ ... พี่น้อง
สรุปเรื่อง RFID แบบง่ายๆ ... เราต้องนำ Tag (เช่น บัตรนักศึกษา) ไปวางไว้ใกล้ๆกับรัศมีการทำงานของตัวอ่าน (Reader) เพื่อสร้างสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (หรือพลังงานให้กับ Tag) เพื่อที่ Reader จะสามารถอ่านข้อมูลที่อยู่ใน Tag ออกมาได้ จากนั้นตัว Reader เองก็จะส่งข้อมูลแบบอนุกรมไปให้กับคอมพิวเตอร์ ผ่านทาง Serial Port (หรือ COM Port นั่นเอง) ... ส่วนของคอมพิวเตอร์ก็จะนำข้อมูลที่ได้ ไปประมวลผลต่อไป เช่น ค้นหาข้อมูลใน DataBase ว่ารหัสอันนี้น่ะ มันมีอยู่ในระบบหรือไม่ ... จบ เคยบอกไปแล้วว่าผมไม่ใช่นักวิชาเกิน เอ้ย วิชาการ ... 55555+
ชุดทดสอบผม - Local บ้านนอกจริงๆ ... 55555+ก็ยื่นบัตรขาวๆ (Tag) หรือ พวงกุญแจ เข้าไปใกล้ๆตัว Reader (ID20) นั่นเองแหละครับ ... พี่น้องจาก ID20 ก็จะมีสายส่งข้อมูล (D0) พ่วงต่อเข้าพอร์ทอนุกรม (Received) ของเครื่องคอมพิวเตอร์
ผมคิดว่าคนที่ซื้ออุปกรณ์เหล่านี้มาทดสอบได้ ต้องมีความเข้าใจในเรื่องของวงจรดีพออยู่แล้ว ดังนั้นเลยไม่แสดงรูปการต่อเชื่อมสายต่างๆน่ะครับ ... เพราะงานนี้เจตนาก็เพื่อให้กลุ่มนักพัฒนาซอฟท์แวร์ ที่ไม่มีความรู้ทางด้านอิเล็กทรอนิกส์ ได้มองเห็นการประยุกต์ใช้งานมากกว่า
- ผมใช้ Tag ID แบบมีชุดข้อมูล 1 ชุด (ID ของมัน) และเป็นชนิดอ่านได้อย่างเดียว เขียนข้อมูลลงไปไม่ได้ (ว่าไปแล้วมันก็คือ Barcode 1 มิติดีๆนั่นเอง)
- ใช้ Reader ID-20 Innovation เป็นตัวอ่านค่าจาก Tag ID (ด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า) จากนั้นจะส่งข้อมูลขนาด 16 ไบต์ให้กับคอมพิวเตอร์ ผ่านพอร์ทอนุกรม
- การอินเทอร์เฟซ หรือ การเชื่อมต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์ผ่านพอร์ทอนุกรม หรือ เรียกอีกอย่างว่า Com Port
- มีการส่งข้อมูลออกไปจาก Reader อย่างเดียว โดยที่ไม่มีการตรวจสอบจังหวะการทำงาน (Hand Shaking) ... ปัญหาก็คือ บ่อยครั้งในการรับข้อมูลจะเกิด Error แต่เรา (ผม) สามารถแก้ไขได้ด้วยการใช้ Timer เป็นตัวควบคุมจังหวะการทำงานแทน ... เหอๆๆๆๆ
ติดตามชมตอนต่อไปในภาค 2
Conclusion: อันที่จริงแล้ว รายละเอียดต่างๆมันมีมากกว่านั้น แต่ผมพยายามรวบรวม กล่าวถึงเฉพาะส่วนที่สำคัญ และ จำเป็น เท่านั้นเอามานำเสนอ ... โดยส่วนตัวของผมใช้หลักการเรียนรู้แบบทฤษฎีนำหน้ามา 20% ส่วนที่เหลืออีก 80% เป็นปฏิบัติงั้นเหรอ ... ไม่ใช่เลยครับ พอลงมือปฏิบัติไปสักระยะ ก็ต้องย้อนกลับมาหาทฤษฎีอีก ไปๆมาๆ แนวทางของผมมันเลยมาแบบ ทฤษฎี/ปฏิบัติ อย่างละ 50/50 ... ผมเองอาจโชคดีตั้งแต่เรียนช่างอิเล็กทรอนิกส์มา (เทคโนฯไทย - เยอรมัน ขอนแก่น) เจออาจารย์ที่ล้วนแล้วแต่ทำงาน หรือ มีประสบการณ์การทำงานในชีวิตจริง ก่อนที่จะมาสอนพวกผมได้ ทำให้ผมถูกฝึก ถูกสอนมา ให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ มากกว่าที่คิดจะเรียนเพื่อเอาเกรด เอาวุฒิการศึกษา อย่างเช่นที่เห็น และ เป็นอยู่อย่างมากมายในปัจจุบัน ...
|
|