ดาวน์โหลดโปรแกรม RSS Reader ได้ที่นี่ ...

|
|
|
Visitors - Session views |       
7 ธันวาคม พ.ศ.2549 1428 Users On-Line. |
|
Visitors - Page views |        1 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2551 |
|
|
|
 |
|
การใช้งาน SwishMax กับการทำภาพเคลื่อนไหว ... พื้นฐานสุดๆ จนแทบไม่อยากเชื่อ |
Category »
จับฉ่ายคอมพิวเตอร์ โดย : Webmaster เมื่อ 10/6/2551 เวลา: 06:32 | (อ่าน : 114866) |
ตอนผมเรียนวิชา Computer Graphics ผมเองก็ยังสงสัยอาจารย์ท่านเลยว่า ไฉนท่านนำเรื่อง จุด เส้นตรง เส้นโค้ง วงกลม วงรี สี่เหลี่ยม (เรียนมาสมัยไหนก็ไม่รู้) มาสอนกันในระดับปริญญาตรีี ... มันต้องเรียนโปรแกรมกราฟิคระดับสุดยอด มีออปชั่น ฟีเจอร์ ลูกเล่นเพียบ แต่มาทุกวันนี้ผมไม่สงสัยแล้วคร้าบ 'จารย์ นอกจากนั้นยังนำแนวทางของคำว่า "พื้นฐาน" ไปถ่ายทอดให้กะเด็กรุ่นใหม่ๆ ไฟแรง ต่อไปได้อีก (แต่ต้องยอมรับว่าสิ่งที่สอนกันไม่ได้เลยก็คือ เรื่องของความคิดสร้างสรรค์ ครับ) หลักการพื้นฐานในการทำภาพเคลื่อนไหว ก็คือการนำภาพนิ่งที่มีการเปลี่ยนแปลงทีละเล็กละน้อยมาเรียงต่อกัน ทำให้เสมือนเกิดเป็นภาพเคลื่อนไหวได้ พูดง่ายๆก็คือ "ภาพมันหลอกสายตาเรานั่นเองแหละครับ" หากอธิบายแบบหลักวิชาการก็คือ เนื่องมาจากการกระพริบตาในแต่ละครั้งของคนเรา ช้ากว่า หรือ ไม่ทันพอ ที่จะมองเห็นการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของภาพนิ่ง จึงทำให้เรามองเห็นภาพนิ่งกลายเป็นภาพเคลื่อนไหวได้ จากตัวอย่างนี้ผมเลือกใช้วิธีการทำภาพนิ่งของผีเสื้อมา 2 ภาพ ให้ภาพหนึ่งเป็นภาพใหญ่ และ อีกภาพเป็นภาพเล็ก (ก็อาศัยการ Transform นั่นไงครับ บางคนอาจจะใช้งานภาพเดียว แต่ทำเป็น 2 ชิ้น โดยปรับขนาดในตัวโปรแกรม SwishMax ก็ได้) ภาพที่ผมใช้จะ Save เป็นนามสกุล png เนื่องจากเก็บรายละเอียดได้ดีกว่า gif รายละเอียดเรื่องภาพก็คงต้องไปศึกษากันเอาเองน่ะครับท่าน
เอ้า เริ่มต้นด้วยการเปิดโปรแกรม SwishMax เข้ามาเลยครับท่าน 1. เริ่มจากการ Insert ภาพทั้งสองภาพเข้ามาไว้ใน Outline
2. จากนั้นก็เลือกภาพทั้งสอง แล้วก็กดเมาส์ขวาเพื่อทำให้เป็นกลุ่มของ Sprite (คือมันจะทำงานซ้ำๆไปตลอด) ดังรูป
3. ต่อไปก็ปรับตำแหน่งของภาพให้มันซ้อนทับกัน เพื่อจะได้สลับการแสดงผล
4. ทีนี้มาดูขั้นตอนสำคัญเพื่อทำให้ภาพมันทำงานสลับกัน หลักการมีอยู่ว่าเมื่อภาพใหญ่แสดงผลขึ้นมา ภาพเล็กก็ต้องปิดไว้ ในทางกลับกัน เมื่อภาพเล็กปรากฏ ภาพใหญ่ก็ต้องไม่แสดงผล วิธีการก็คือไปที่ Timeline แล้วเลือกภาพใหญ่ก่อน ให้กดเมาส์ขวาที่ตำแหน่งของเฟรมที่ต้องการ (ในที่นี้คือเฟรม 2) จะพบคำสั่ง Place
5. จาก Timeline ให้เลือกตำแหน่งของเฟรมที่ Place ปรากฏอยู่ โดยการดับเบิ้ลคลิกส์เมาส์ขึ้นมา เราก็จะเห็น Place Setting เพื่อทำการปรับค่า
6. ให้ ปรับค่า Alpha Value of เป็น 100% นั่นก็คือต้องการให้ภาพใหญ่ปรากฏขึ้นมา
7. จาก Timeline ให้เลื่อนตำแหน่งไปอีกเฟรม แล้ว ทำซ้ำกับข้อที่ 4 แต่ว่าปรับให้ค่า Alpha Value of เป็น 0% ก็คือไม่ให้มันแสดงผลออกมานั่นแหละครับ (ขั้นตอนนี้จะทำการคัดลอก Effect ก็ได้น่ะครับ) 8. ส่วนภาพเล็กก็ทำซ้ำกับข้อที่ 4 แต่ว่าให้ค่า Alpha เป็น 0% ก่อน ส่วนตัวที่สองก็ทำให้ Alpha เป็น 100%
9. จากนั้นก็สั่งให้ Play Movie เพื่อดูผลงาน หากต้องการให้ภาพเคลื่อนไหวที่ได้ แสดงผลเร็ว หรือ ช้า ก็มาปรับที่จำนวนของเฟรมต่อวินาที แค่นี้เป็นอันจบพิธีครับกระผม
โจทย์น่าคิด: ลองไปปรับปรุงทำให้ผีเสื้อมันโบยบินแบบเคลื่อนที่ได้ดูซิครับ Tips: ในโปรแกรม SwishMax การใช้ Effect พื้นฐาน เช่น Plcae นี่แหละ จะทำให้ชิ้นงานของเรา เมื่อแปลงเป็น Flash (SWF) แล้ว ขนาดของไฟล์จะมีขนาดเล็กกว่าการเลือกใช้สารพัด Effect ที่มีอยู่ในตัวโปรแกรมน่ะครับ |
|
|