เริ่มต้นการออกแบบของเรา ผมก็ขอแนะนำวัตถุ (Object) ที่สำคัญก็คือ Text ก่อนน่ะครับ Text ที่ใช้ใน SwishMax จะมี 3 แบบดังนี้คือ
Dynamic แบบนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงค่าในตัวมันเองได้ครับ ... กรณีนี้ผมนำมาใช้เป็นป้ายคำตอบว่าผู้เรียนตอบผิด หรือ ถูก
กรณีของ Input และ Dynamic นี่เราต้องตั้งชื่อ (Name) ให้มันด้วยน่ะครับ เพื่อที่เราจะได้นำมาใช้ในการอ้างอิงภายหลังได้ครับ (แนะนำให้ตั้งชื่อเป็นภาษาอังกฤษด้วยน่ะครับ)
TextBox ที่ทำการรับค่า

เนื่องจาก TextBox ที่เราจะทำการรับค่าเข้ามานั้นมันเป็นตัวเลขเท่านั้น ดังนั้นเราจึงต้องควบคุมผู้เรียนให้คีย์เฉพาะค่าตัวเลขลงไปได้เท่านั้น ดังรูปด้านบน
การสร้างปุ่ม
อันที่จริงจะมี หรือ ไม่มีก็ได้ครับ แต่สำหรับเด็กๆแล้วเขา (หรือเธอ) อาจจะไม่รู้ว่าสามารถกดแป้น Enter ก็จะสามารถส่งคำตอบได้เหมือนกัน ... เอาเป็นว่าผมก็ถือโอกาสอธิบายการสร้างปุ่มง่ายๆขึ้นมาใช้งานไปด้วยแล้วกันครับ

โดยการเลือก Rounded Button จาก Tool มาใช้งาน

จากนั้นก็กวาดลงบน Layout แล้วก็ปรับแต่งความสวยงามตามใจชอบ

ให้เลือก Text มาวางลงบนปุ่ม Rounded Button

ไปที่ Outline แล้วเลือกวัตถุทั้งสอง (เมาส์ชี้วัตถุทีละตัว + ปุ่ม Control)

ทำการจัดกลุ่มแบบปุ่ม (Group as Button)

ให้เปลี่ยนชื่อปุ่ม ณ ที่นี้ให้ชื่อว่า Check ครับ ... พี่น้อง
เริ่มต้นการใช้ Script เพื่อทำการควบคุมการทำงาน
ในการสร้างงาน CAI แบบ Interactive นี้ จำเป็นอย่างมากที่จะต้องใช้พื้นฐานความรู้ด้านโปรแกรมมิ่ง (แม้แต่ Authorware ก็ต้องใช้เลยครับ) อันที่จริงมันก็ไม่จำเป็นต้องมากมายนักหรอกครับ เอาแค่เบื้องต้นเท่านั้น ประเดี๋ยวคุณครูหลายท่านจะใจฝ่อเสียก่อน เมื่อได้ยินคำๆนี้ แต่ทว่าต้องไปเน้นในเรื่องของเงื่อนไข (Condition) และการทำซ้ำ (Repeat) ไม่อย่างนั้นท่านจะไม่สามารถควบคุมการทำงานของ CAI ที่สร้างขึ้นมาได้เลย ผลลัพธ์ที่ได้ก็จะเป็นได้แค่ Presentation ซึ่งให้มันเดินหน้า ถอยหลังได้แค่นี้เอง ... 55555 โปรดอ่าน การสร้างบทเรียนช่วยสอนด้วยโปรแกรมจุดอิทธิฤทธิ์ (Power Point) ของผมประกอบด้วยน่ะครับ ... จากนี้ผมจะอธิบายเป็นรูปๆไปน่ะครับ ด้วยการเรียกใช้งาน Script ในแบบ Guided แล้วกัน ไว้สำหรับคุณครูมือ CAI ใหม่ๆ จะได้ตามทันครับผม

ไปที่ OutLine แล้วให้เลือก Scene_1 (หรือที่ต้องการลง Script) ก่อนน่ะครับถึงไปเลือก Tab ของ Script ทางขวามือ

เมื่อ SwishMax เริ่มต้นทำงานมันจะเริ่มจาก onLoad() ก่อนล่ะครับ ... แล้วมาทำไม ... ดูคำตอบด้านล่างครับ

ต่อมาจาก onLoad() เลยน่ะครับ ให้เลือกประโยคคำสั่ง (Statement)

Answer ตัวนี้เป็น Text เพื่อทำการรับค่าคำตอบ เรากำหนดค่าให้มันเป็น "" นั่นคือจะเคลียร์ค่าของมันนั่นแหละครับ ไม่ให้แสดงผลอะไรออกมา

Report เป็น Text ที่จะแสดงผลคำตอบว่าถูกหรือผิด ก็มีความหมายเหมือนกันครับ
เริ่มต้นการใช้ Script ปุ่มส่งคำตอบ

เมื่อผู้เรียนจะส่งคำตอบแล้วครับ ดังนั้นเด็กก็จะกดปุ่ม "ตอบ"
ให้เลือกวัตถุ Button หรือปุ่ม Check ก่อน (ใน Outline) แล้วถึงจะ Add Script เข้้าไปน่ะครับ

Release คือกดเมาส์ลงที่ปุ่มแล้วปล่อยครับ ส่วน Press คือการกดอย่างเดียวแล้วมันจะทำงานเลย จะใช้ตัวไหนก็ได้ครับ

การสร้างเงื่อนไขด้วยคำสั่ง IF - Then - Else
ถ้า (IF) เงื่อนไข (Condition) เป็นจริง (True) ครั้นแล้ว (Then)
ให้ทำงาน ก.
อย่างอื่น (Else หรือ เท็จ)
ให้ทำงาน ข.

นี่คือการสร้างเงื่อนไข (Condition) ... โปรดอย่าแสลงภาษาอังกฤษน่ะครับหากอยู่กับคอมพิวเตอร์

เงื่อนไขที่ทดสอบคือ ถ้า Answer == 37 แสดงว่าเป็นจริง
(ในภาษา C ต้องใช้เครื่องหมายเท่ากับ (=) 2 ตัว เพื่อทำการเปรียบเทียบ
ถ้าใช้ตัวเดียวจะถือว่าเป็นการกำหนดค่า เช่น A = 10 นั่นคือ ให้เอา 10 ไปเก็บไว้ที่ A)

กำหนดค่าให้ Text แบบ Dynamic ที่ชื่อ Report แจ้งไปยังผู้เรียนว่าถูกต้อง

หลักไวยากรณ์ภาษา C

ต่อไปเมื่อเงื่อนไขมันเป็นเท็จบ้าง แสดงว่าผู้เรียนไม่ได้คีย์ค่า 37 เข้าไปครับ ... เราเรียก Else มาใช้

จากจุดนี้ก็เลือก Statement เพื่อให้ Report แสดงผลเลยครับ

แจ้งให้ผู้เรียนได้รู้ว่าทำผิดครับ
เพิ่มเติม: สำหรับการกดแป้น Enter หลังจากที่ผู้เรียนต้องการส่งคำตอบแล้ว

เลือกจาก Key ต่อจากนั้นก็คือ Enter

มันก็จะเพิ่มเข้าไปใน Script โดยอัตโนมัติ

กดปุ่ม Play เพื่อสั่งให้มันทำงานแล้วครับ

เราสามารถไปดูที่ Tab ของ Debug ได้ครับว่าผลของการทำงานเป็นไปตามที่เราต้องการหรือไม่
เป็นอย่างไรบ้างครับพี่น้อง ... และคุณครูทั้งหลาย ... ทีนี้เห็นความง่ายของโปรแกรม SwishMax หรือยังล่ะครับ มันไม่ได้ยากเย็นอย่างที่คิดหรอกครับ แต่ทีนี้ข้อมูลเหล่านี้มันปรากฏออกมาให้เราได้รับรู้กันค่อนข้างจะน้อยจริงๆครับ ส่วนใหญ่ตามในเว็บไซต์ต่างๆ ก็เอามาเล่นแต่คำสั่งที่มันยากๆ อาทิเช่น _root.play หรือ arrow._rotation = rotationin.text; อย่างนี้ แล้วเหล่าบรรดาคุณครู 35 Up จะรู้เรื่องกันเรอะ ... พี่น้อง ... งานแบบนี้จึงไม่ค่อยมีคุณครูจะสนใจมาทำกันสักเท่าไร ทั้งๆที่มันสามารถนำไปอ้างอิงผลงานอาจารย์ 3 ได้อย่างสบายๆ โดยที่ไม่จำเป็นต้องไปจ้างเขาทำ PowerPoint หน้าละ 5 บาท (เกลื่อนเมืองครับ เห็นแล้วทุเรศจริงๆ ... พี่น้อง) งานที่ทำด้วยตัวเอง มันภูมิใจกว่ากันเยอะ และที่สำคัญมันส่งผลที่ดีต่อเด็กๆลูกหลานเยาวชนของเราด้วย ใช่มั้ยครับ ... คุณครู