ก็ว่างเว้นระยะของการเขียนบทความเกี่ยวกับเรื่อง "การผลิตสื่อการเรียน การสอน" ไปนานพอสมควรล่ะครับ มาครั้งนี้จะกล่าวถึงองค์ประกอบสำคัญอีกตัวหนึ่ง ที่มีบทบาทต่อการผลิตสื่อการเรียน การสอน ให้ครบถ้วนสมบูรณ์ นั่นก็คือ "การบันทึกเสียงบรรยายเนื้อหา" เพื่อนำไปประกอบไว้ในสื่อฯได้สารพัด ไม่ว่าจะเป็นภาพนิ่ง หรือ ภาพเคลื่อนไหวก็ตามที โดยผมได้เลือกโปรแกรม Acoustica MP3 Audio Mixer มาใช้งาน เนื่องจากมันใช้งานได้ง่ายมากๆ และโปรแกรมนี้ก็ไม่ใช่โปรแกรมที่พึ่งออกมาใหม่น่ะครับ มันมานานแล้ว (ผมใช้มา 4-5 ปีแล้ว) แต่ชื่อของมันนี่ซิ ไม่ค่อยได้บ่งบอกว่าจะเอามาทำสื่อฯเลย ใครต่อใครก็คงนึกไปถึงเฉพาะเรื่องของความบันเทิงซ่ะมากกว่า ... ดาวน์โหลดโปรแกรม Acoustica MP3 Audio Mixer ได้ที่นี่ ...
- หน้าตาของโปรแกรม Acoustica MP3 Audio Mixer

- รูปแบบลักษณะของการใช้งาน

คราวนี้มาเข้าเนื้อเรื่องกันครับ ผมจะแนะนำการใช้งานหลักๆ ดังต่อไปนี้
- ที่มีหมายเลข 1 หรือ 2 ผมขอเรียกมันว่าร่องเสียง หรือ Track แล้วกัน ซึ่งในแต่ละแถวนั้นก็คือเสียงที่เราจะนำมาใส่เข้าไป และยังนำมาใส่เข้าไปได้หลายๆไฟล์ (ดังตัวอย่างภาพด้านบน)

- เริ่มต้นการเพิ่มเสียงที่ได้จัดเตรียมไว้มาก่อนล่วงหน้าแล้วเข้าไป - Add Sound

- เลือกเสียงที่ต้องการ การคลิ๊กเมาส์ซ้ายตรงชื่อไฟล์เสียง ก็จะปรากฏเสียงขึ้นมาให้เราได้ทราบว่าใช่ไฟล์เสียงที่เราต้องการหรือไม่

- ใช้เมาส์ชี้ไปบริเวณริมขอบทางขวา จะมีลูกศรซ้าย - ขวา เพื่อปรับระยะเวลาของเสียงที่จะเล่น

- แถบเส้นตรง คือ ระดับความดังของเสียง (Volume) โดยเคลื่อนเมาส์ผ่านๆไป ก็จะมีลูกศรเส้นตรงทางดิ่งเกิดขึ้น คลิ๊กเมาส์ซ้ายลงไปแล้วเลื่อนขึ้นเพื่อให้เสียงดังเพิ่มขึ้น หรือ เลื่อนลงเพื่อลดระดับความดังของเสียง

- ปรับแต่งการ Fade ของเสียง คือ การปรับว่าจะให้เสียงดัง หรือ เบา แบบค่อยๆเป็นค่อยๆไป ซึ่งเราเรียกว่า Fade

- ตัวอย่างการ Fade เสียงลง และ ค่อยๆ Fade เสียงขึ้น

- การนำเสียง 2 เสียง มาทำการจัดเรียงให้เกิดเสียงที่ต่อเนื่องกัน โดยเมื่อเสียงแรกจะจบลงแล้ว เราก็ค่อยๆ Fade เสียงลง ส่วนเสียงที่ 2 ก็ค่อยๆ Fade เสียงเพิ่มขึ้นแทน กรณีนี้ที่นำไปใช้ในเรื่องของการทำสื่อฯ ก็คือว่า เสียงแรกเป็น Title หรือดนตรีประกอบ ส่วนเสียงที่สองเป็นเสียงพูดบรรยายเนื้อหา

- การบันทึกเสียงโดยเลือกจากเมนู Record Sound ...
- หากทำสื่อฯที่รันผ่านโปรแกรม หรือ Applicationโดยตรง เราสามารถปรับคุณภาพของเสียงให้ดีๆไปเลยก็ได้ เช่นให้มีขนาด 16 Bit, Sampling Rate 44100 Hz. (ในภาพเป็น 22050 Hz.) และ เป็นระบบ Stereo - หากคุณนำไปทำผ่านเว็บไซต์ก็ควรจะลดขนาด หรือ คุณภาพของเสียงลงไป เช่นให้มีขนาด 8 Bit, Sampling Rate 22050 Hz. และ เป็นระบบ Mono ก็น่าจะเพียงพอแล้ว (ไม่ต้องคลิ๊กเลือก Stereo) เพื่อลดทอนไฟล์ให้มีขนาดเล็กลง ... ทั้งนี้ทั้งนั้นคุณก็ต้องลองทดสอบดูเอาเองแล้วกันครับ

- การปรับความดังของ Microphone ในขณะที่ทำการบันทึกเสียง นั่นก็คือระดับความดังของเสียงที่คุณจะทำการบันทึกนั่นเอง

- เริ่มต้นการบันทึกเสียง โดยกดปุ่ม Record ปั๊บ ... ปุ่มนี้ก็จะกลายมาเป็น Stop เพื่อหยุดการบันทึกเสียงแทน

- เมื่อกดปุ่ม Stop หยุดการบันทึกเสียง ... ก็จะปรากฏหน้าจอขึ้นมาใหม่ ให้กดปุ่ม Play เพื่อทดสอบฟังเสียง ก่อนที่จะ Save ไฟล์เสียงที่ได้นี้เอาไว้

- ไฟล์เสียงที่ได้จากการบันทึกจะถูกจัดเก็บในรูปแบบของ WAV ไฟล์ ... ซึ่งจะมีขนาดใหญ่ หากนำไปใช้งานจริง ก็ควรจะทำการบีบอัดให้ไปอยู่ในรูปแบบของ MP3 แทนน่ะครับ

- หลังจากที่ Save ไฟล์ไว้แล้ว ไฟล์เสียงที่ได้จะถูกนำมาใส่ไว้ในร่องเสียง (Track) ต่อไป เพื่อให้เราทำการปรับระยะ หรือ จัดแต่งเสียงตามที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น

- เมื่อพึงพอใจในผลงานแล้ว ก็ทำการ Save As ให้กลายสภาพเป็น MP3 เพื่อลดขนาดของไฟล์ลง แต่คุณภาพเสียงยังจัดว่าชัดเจนดีอยู่ เพื่อนำไปใช้งานต่อไป

|